สอนหน้าชั้นเรียน

บางบัว

เพลง

ข้อสอบปลายภาค วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

1.) คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์ ทำให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กควรคำนึงถึงพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย
2.) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็นความจำเป็นและประโยชน์ของสิ่งที่ครูกำลังสอน ดังนั้นการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

3.) จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีล่ะหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9ตัวเลขไทย ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ



สาระที่ 2 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตราฐาน
3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ
4. การรียงลำดับความยาว/ ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตราฐาน
6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
7. การเรียนงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
8. การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตราฐาน
9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
13. ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์



4).จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ ทักษะสังเกต จำแนกและเปรียบเทียบเป็นทักษะเริ่มต้นในการเรียนและเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์
1. ทักษะเกี่ยวกับตัวเลขและจำนวนเด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน การเพิ่มหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณได้
1. ความรู้สึกเชิงจำนวน เกิดขึ้นเองภายในของแต่ละคนเกี่ยวกับจำนวน การใช้จำนวน ตีความจำนวนได้หลากหลาย รวมทั้งความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
2. พัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน
การพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
- ขั้นก่อนการนับ เข้าใจแต่ยังไม่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน
- ขั้นความเข้าใจเชิงอันดับที่ เข้าใจคำถามว่าอันไหนใหญ่ที่สุด
- ขั้นความเข้าใจเชิงการนับ
- ขั้นความเข้าใจหลากหลายระหว่างจำนวน
3. ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวน
3. ทักษะเชิงมิติสัมพันธ์
1. รูปทรงและพื้นที่
- เรขาคณิต สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น ลักษณะบ้าน รูปร่างของกล่อง
- เรขาคณิตไปใช้ในการจัดประสบการณ์
- พัฒนาทักษะการคิด 4 ขั้นตอน 1. ระลึกได้2. พื้นฐาน 3. ขั้นวิเคราะห์4. ขั้นสร้างสรรค์
- การให้เหตุผลแบบอุปนัยกับนิรนัย
- พัฒนาความคิดโดยการให้เหตุผล เปิดโอกาสให้เด็กค้นหา
2. จุด เส้น มุม และระนาบ
3. รูปเรขาคณิต 2 มิติ กับ 3 มิต
4. ทักษะการวัด
1. ธรรมชาติของการวัด
2ความยาวและอาณาเขต
3. น้ำหนัก
4. เวลาและเงิน
5. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา
- การให้เหตุผล
- การเชื่อมโยง
- ภาษาและการสื่อสาร
- คิดริเริ่มสร้างสรรค์
6. ภาษา คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- ภาษากับการพัฒนาความคิดรวบยอด
- ภาษากับการแก้ปัญหา
- ภาษาและคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์


5.) ท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไรได้บ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ
วิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้พูดเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ และให้เขาได้สร้างความคิดรวบยอดได้ การฝึกหัดและการมีส่วนช่วยงานบ้านในชีวิตประจำวัน คือ วิธีการหนึ่งที่เด็ก จะรู้สึกสนุกกับการเล่นสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและช่วยเหลืองานบ้าน เช่น จัดโต๊ะอาหาร ไปจับจ่ายซื้อของ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ทำแซนวิช เก็บของให้เข้าที่ กิจกรรมใดๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน จัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทีย หรือจัดลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเด็กจะยังเล็กเกินกว่าจะเข้าช่วยงานบ้านที่คุณกำลังทำ คุณก็สามารถปล่อยให้พวกเขาได้เฝ้าดูคุณทำและพูดคุยถึงสิ่งที่คุณกำลังทำก็ได้ เช่น การเล่นชุดแม่ครัวหัวป่า วิธีการเล่นมีดังนี้ประกอบด้วยของเล่นต่อไปนี้กะทะพลาสติกเล็กๆ เพื่อใช้ประกอบอาหารหรือกะทะของจริงขนาดเล็กๆก็ได้เตาและตู้เก็บของจากวิธีทำข้างล่างนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ง่ายๆ
1. หากล่องขนาดใหญ่ที่แข็งแรง (เช่น กล่องโทรศัพท์ ตู้เย็น) แล้วปิดฝาทุกด้านให้สนิท
2. ปะกระดาษแข็งบนฝากล่องด้านบนเพื่อให้มีพื้นที่เรียบ
3. ใช้มีดกีรดเจาะฝากล่องด้านหนึ่งทำเป็นประตูเปิดปิด
4. ทา/พ่นสี ให้ทั่วเอให้สวยงามทนทาน (สีปลอดสารพิษ)
5. วาดรูปวงกลมเล็กๆ บนฝากล่องทำเป็นรูปเตา พร้อมทั้งวาดรูปปุ่มที่กดเปิดปิดเหมือนของจริง
6. ทำที่เปิดปิดประตูตู้อบด้วยกระดาษแข็งจามจัวอย่างในรูป
7อ่างล้างชามเล็กๆและถังน้ำ หาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553


วันนี้เป็นการเรียนการสอนในคาบสุดท้ายค่ะ ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันนี้มีลายละเอียด คือ
-การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แต่ละหน่วยควรสอนอย่างไร ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลาย
ตามความสนใจและความสามารถของเด็ก
-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เช่น แบบสังเกต เป็นต้น
และอาจารย์ได้สั่งงานให้เขียนบันทึกครั้งสุดท้ายลงใน blog
เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการเขียนบันทึกจากที่ได้เรียนมาทั้งหมดเป็นการสรุป ค่ะ
สำหรับบรรยากาศในการเรียน ก็เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย
อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนดีเหมือนเดิม อากาศเย็นสบาย
เอื้อต่อการเรียนรู้ค่ะ

แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเรื่องดอกไม้ ชั้นอนุบาล 1




จุดประสงค์1.บอกส่วนประกอบของดอกไม้อย่างน้อยมา 5 ชนิด\2.นับและบอกจำนวนดอกไม้อย่างน้อย 5 ได้สาระการเรียนรู้สาระที่ควรเรียนรู้
1.ส่วนประกอบของดอกไม้
2.การรู้ค่าและความหมายของจำนวน 5ประสบการณ์สำคัญด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหวเค
ลื่อนที่ด้านอารมณ์-การแสดงออกอย่างสนุกสนานด้านสังคม-การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นด้านสติปัญญา-การรับรู้ผ่านสื่อเช่น ของจริง (ดอกกุหลาบ ) กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ(ควรเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ที่สร้างความคุ้นเคย เช่น เพลง) ครูสอนให้เด็กพูดตามเพลง แล้วร้องเพลงตาม หลังจากนั้นให้ร้องเพลงพร้อมกัน
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงประเภทและส่วนประกอบของดอกไม้ดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้เด็กเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับดอกไม้ให้เพื่อนฟัง โดยครูใช้คำถามดังนี้- ในเพลงมีดอกไม้อะไรบ้าง-แล้วที่บ้านใครปลูกดอกไม้บ้าง
2. ครูและเด็กร่วมกันแยกส่วนประกอบของดอกไม้
3.ครูนำดอกไม้บางชนิดมาให้เด็กสังเกต เช่น แล้วเด็ดทีละส่วนประกอบของดอกไม้ว่าทำหน้าที่อะไรโดยให้เด็กลองทายและช่วยกันตอบคำถาม เด็กทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นแล้วดอกไม้ทุกประเภทส่วนประกอบต่างๆทำหน้าที่เหมือนกันทุกชนิด
ขั้นสรุป
ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปชื่อและนับจำนวนดอกไม้อีกครั้ง
แหล่งการเรียนรู้/สื่อ
1.ของจริง (ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน ดอกมะลิ ดอกดาวเรืองดอกกล้วยไม้)
2. ตะกร้า
3.เพลงดอกไม้สดสี ผีเสื้อสุดสวย
แสงแดดส่องด้วย ช่วยให้ฉันเพลินเพลิด
การประเมินผลการเรียนรู้
1.สังเกตความสนใจการมีส่วนร่วมในการเรียน
2.ฟังการแสดงความคิดเห็นการตอบคำถาม