สอนหน้าชั้นเรียน

บางบัว

เพลง

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553


บรรยากาศในวันนี้ ก่อนอื่นขอบอกว่าได้เรียนในห้องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม ก็ดีใจหน่อย แต่ก็มีเพื่อนๆบางคนแอบเล่นเกมส์จนอาจาร์ยไม่พอใจ ก็น่าสงสารอาจารย์เหมือนกัน เพื่อนๆก็ร่วมตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้างเหมือนเดิม ห้องเรียนก็ไม่ค่อยหนาวเท่าไหร่ ก็เรียนได้ คอมพิวเตอร์ก็มีปัญหานิดหน่อยคะ ทุกอย่างในวันนี้ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

สำหรับวันนี้อาจารย์ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่ว่างานของแต่ละคนเปิดไม่ได้ อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำงานจากเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุ แล้วคุยกันว่าจะอยู่ระดับไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

ในเรื่องของการเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสียส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาแต่ละกลุ่มต้องเขียนแผนฯ สำหรับเราเองก็รีบทำงานให้เสร็จเเรยบร้อยโดยเร็วค่ะ

สำหรับงานอีกอย่างหนึ่งที่อาจารย์มอบหมายให้คือ การร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ แล้วอาจารย์ก็อธิบายว่าการร้อยลูกปัดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร จนทุกคนเข้าใจค่ะ
บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันนี้เป็นวันที่สองที่ได้เข้าเรียนวิชานี้ อาจารย์ก็ให้พวกเราทำบล็อกให้สมบรูณ์ขึ้นคะ ใครขาดตรงไหนก็ให้แก้ไข เติมเต็มให้ครบถ้วนและการเขียนบันทึกการเข้าชั้นเรียนนั้นต้องระบุวันที่และบอกเล่าว่าวันนั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร บรรยากาศการเรียนบันทึกความรู้ ความเข้าใจ และผลงานที่ได้จากการเรียนวันนั้น สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึก แง่คิด และข้อเสนอแนะต่างที่มีต่อเรื่องนั้น ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ฯ จากนั้นอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4-5 คน โดยกลุ่มของฉัน ได้เรื่อง "ความหมายและความสำคัญของคณิตศาสตร์" หายากมากคะเพราะส่วนใหญ่จะให้ความหมายและความสำคัญของระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาคะ ดีนะที่เจองานวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับที่หาโดยอาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำงานในห้อง เมื่อเสร็จแล้วอาจารย์ให้ส่ง E-mail ให้อาจารย์ ในระหว่างนั้นอาจารย์ก็เคลียร์เรื่องเงินค่าเสื้อของเอก กับนักศึกษา บรรยากาศค่อนข้างวุ่นวายนิดหน่อยเพราะเรื่องเงินยังไม่ลงตัว แต่ก็ผ่านพ้นไปได้โดยดีค่ะ...


เกร็ดข้อมูล Practicum 1 ด้านสื่อการสอนคณิตศาสตร์ Practicum 1 นี้
ดิฉันได้สังเกตที่โรงเรียนบางบัวเพ่งตั้งตรงจิตร์คะที่นี้มีระดับชั้นอนุบาล 1-2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบรูณาการ ในแต่ละห้องก็มีการจัดมุมสำหรับเด็กๆอยู่มากมายค่ะ สื่อการสอนก็หลากหลายอย่างเช่นสื่อคณิตศาสตร์ก็มีมากพอสมควร บางห้องก้จะแตกต่างออกกันไปบางแล้วแต่ช่วงอายุที่เหมาะสมกับสื่อนั้นๆและจะทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ทุกวันค่ะ ซึ่งระยะเวลาการสังเกต10วันที่ผ่านมาทำให้ได้ประสบการณ์นอกห้องเรียนมากมายและได้เก็บเกี่ยวความรู้จากครู อาจารย์ และพี่ฝึกสอนที่นั้นด้วยค่ะ มันทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้กับในอนาคตการเป็นครูค่ะ
ตารางกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนบางบัวเพ่งตั้งตรงจิตร์


ตารางกิจกรรมประจำวัน
กำหนดไว้โดยประมาณดังนี้
07.00 น.รับนักเรียนเป็นรายบุคคล
08.00 น.เข้าแถวเคารพธงชาติ/ กิจกรรมธรรมคีตา / กายบริหาร
08.30 นั่งสมาธิ / ให้การอบรม
08.40 น.กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม / กิจกรรมเสริม (ตารางของแต่ละห้อง)
09.10 น.รับประทานอาหารว่าง
09.20 น.จัดกิจกรรม 6 กิจกรรม / กิจกรรมเสริม (ตารางของแต่ละห้อง)
11.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน / แปรงฟัน / ทำภาระกิจส่วนตัว
12.00 น.นอนหลับพักผ่อน
14.00 น.ตื่นนอน / เก็บที่นอน / ทำภาระกิจส่วนตัว
14.30 น.ดื่มนม / ทบทวนบทเรียน
15.00 น.เตรียมตัวกลับบ้านหมายเหตุ ตารางกิจกรรมประจำวัน สามารถปรับให้เหมาะสมกับเวลา เหตุการณ์ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี สภาพชุมชน และท้องถิ่น ทั้งนี้ต้องมีครบทุกกิจกรรม
ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย


สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันอีกครั้งในครั้งนี้จะขอนำเสนอบอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้เรียนกันในวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาและอาจารย์ได้ทบทวนให้ในวันที่ 21 มากราคม 2553 ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ค่ะ


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น


2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม


3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน


4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้


5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า


6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น


7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ


8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน


9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น


10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?


11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์


12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
สรุป >>> Mathematic Experriences for Early Childhood
ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- “คณิต” หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
- “คณิตศาสตร์” หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา
- คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ
เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้