สอนหน้าชั้นเรียน

บางบัว

เพลง

ข้อสอบปลายภาค วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

1.) คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่างกับคณิตศาสตร์ประถมศึกษาหรือไม่ พร้อมให้เหตุผล
ตอบ ต่างกัน เพราะการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ทุกเวลาเมื่อมีโอกาส เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด ค้นคว้า แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง เริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์ ทำให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กควรคำนึงถึงพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กตามระดับพัฒนาการด้วย
2.) การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยผู้สอนต้องศึกษาเรื่องใดและมีหลักการจัดประสบการณ์อย่างไร
ตอบ ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งประกอบด้วย 5 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเด็กมองเห็นความจำเป็นและประโยชน์ของสิ่งที่ครูกำลังสอน ดังนั้นการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

3.) จงเลือกและอธิบายสาระทางคณิตศาสตร์ที่ท่านทราบมา 2 สาระ
ตอบ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีล่ะหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลขเป็น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบมี 10 ตัวดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9ตัวเลขไทย ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6. จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือ น้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8. การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ



สาระที่ 2 การวัด
1. การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
2. การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตราฐาน
3. ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า /ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว /ความสูงของสิ่งต่างๆ
4. การรียงลำดับความยาว/ ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
5. การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตราฐาน
6. หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
7. การเรียนงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
8. การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตราฐาน
9. ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตรของสิ่งต่างๆ
10. การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
11. เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขาย
12. ตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเงินเหรียญแต่ละเหรียญ
13. ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตร บอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
14. บาท เป็นหน่วยของเงินไทย
15. เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ กลางวันและกลางคืน
16. เช้า เที่ยง เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
17. 1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์



4).จงอธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ ทักษะสังเกต จำแนกและเปรียบเทียบเป็นทักษะเริ่มต้นในการเรียนและเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนคณิตศาสตร์
1. ทักษะเกี่ยวกับตัวเลขและจำนวนเด็กสามารถเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน การเพิ่มหรือลดลงของจำนวนหรือปริมาณได้
1. ความรู้สึกเชิงจำนวน เกิดขึ้นเองภายในของแต่ละคนเกี่ยวกับจำนวน การใช้จำนวน ตีความจำนวนได้หลากหลาย รวมทั้งความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
2. พัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน
การพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
- ขั้นก่อนการนับ เข้าใจแต่ยังไม่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน
- ขั้นความเข้าใจเชิงอันดับที่ เข้าใจคำถามว่าอันไหนใหญ่ที่สุด
- ขั้นความเข้าใจเชิงการนับ
- ขั้นความเข้าใจหลากหลายระหว่างจำนวน
3. ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวน
3. ทักษะเชิงมิติสัมพันธ์
1. รูปทรงและพื้นที่
- เรขาคณิต สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น ลักษณะบ้าน รูปร่างของกล่อง
- เรขาคณิตไปใช้ในการจัดประสบการณ์
- พัฒนาทักษะการคิด 4 ขั้นตอน 1. ระลึกได้2. พื้นฐาน 3. ขั้นวิเคราะห์4. ขั้นสร้างสรรค์
- การให้เหตุผลแบบอุปนัยกับนิรนัย
- พัฒนาความคิดโดยการให้เหตุผล เปิดโอกาสให้เด็กค้นหา
2. จุด เส้น มุม และระนาบ
3. รูปเรขาคณิต 2 มิติ กับ 3 มิต
4. ทักษะการวัด
1. ธรรมชาติของการวัด
2ความยาวและอาณาเขต
3. น้ำหนัก
4. เวลาและเงิน
5. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา
- การให้เหตุผล
- การเชื่อมโยง
- ภาษาและการสื่อสาร
- คิดริเริ่มสร้างสรรค์
6. ภาษา คำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
- ภาษากับการพัฒนาความคิดรวบยอด
- ภาษากับการแก้ปัญหา
- ภาษาและคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์


5.) ท่านมีวิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไรได้บ้าง พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรม
ตอบ
วิธีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้พูดเกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ๆ และให้เขาได้สร้างความคิดรวบยอดได้ การฝึกหัดและการมีส่วนช่วยงานบ้านในชีวิตประจำวัน คือ วิธีการหนึ่งที่เด็ก จะรู้สึกสนุกกับการเล่นสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและช่วยเหลืองานบ้าน เช่น จัดโต๊ะอาหาร ไปจับจ่ายซื้อของ ให้อาหารสัตว์เลี้ยง ทำแซนวิช เก็บของให้เข้าที่ กิจกรรมใดๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน จัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทีย หรือจัดลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเด็กจะยังเล็กเกินกว่าจะเข้าช่วยงานบ้านที่คุณกำลังทำ คุณก็สามารถปล่อยให้พวกเขาได้เฝ้าดูคุณทำและพูดคุยถึงสิ่งที่คุณกำลังทำก็ได้ เช่น การเล่นชุดแม่ครัวหัวป่า วิธีการเล่นมีดังนี้ประกอบด้วยของเล่นต่อไปนี้กะทะพลาสติกเล็กๆ เพื่อใช้ประกอบอาหารหรือกะทะของจริงขนาดเล็กๆก็ได้เตาและตู้เก็บของจากวิธีทำข้างล่างนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ง่ายๆ
1. หากล่องขนาดใหญ่ที่แข็งแรง (เช่น กล่องโทรศัพท์ ตู้เย็น) แล้วปิดฝาทุกด้านให้สนิท
2. ปะกระดาษแข็งบนฝากล่องด้านบนเพื่อให้มีพื้นที่เรียบ
3. ใช้มีดกีรดเจาะฝากล่องด้านหนึ่งทำเป็นประตูเปิดปิด
4. ทา/พ่นสี ให้ทั่วเอให้สวยงามทนทาน (สีปลอดสารพิษ)
5. วาดรูปวงกลมเล็กๆ บนฝากล่องทำเป็นรูปเตา พร้อมทั้งวาดรูปปุ่มที่กดเปิดปิดเหมือนของจริง
6. ทำที่เปิดปิดประตูตู้อบด้วยกระดาษแข็งจามจัวอย่างในรูป
7อ่างล้างชามเล็กๆและถังน้ำ หาซื้อได้จากร้านค้าทั่วไป

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553


วันนี้เป็นการเรียนการสอนในคาบสุดท้ายค่ะ ซึ่งมีการเรียนการสอนในวันนี้มีลายละเอียด คือ
-การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แต่ละหน่วยควรสอนอย่างไร ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้
เป็นการจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลาย
ตามความสนใจและความสามารถของเด็ก
-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
เช่น แบบสังเกต เป็นต้น
และอาจารย์ได้สั่งงานให้เขียนบันทึกครั้งสุดท้ายลงใน blog
เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการเขียนบันทึกจากที่ได้เรียนมาทั้งหมดเป็นการสรุป ค่ะ
สำหรับบรรยากาศในการเรียน ก็เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้าย
อาจารย์ก็ให้คำแนะนำในการเรียนการสอนดีเหมือนเดิม อากาศเย็นสบาย
เอื้อต่อการเรียนรู้ค่ะ

แผนการจัดประสบการณ์หน่วยเรื่องดอกไม้ ชั้นอนุบาล 1




จุดประสงค์1.บอกส่วนประกอบของดอกไม้อย่างน้อยมา 5 ชนิด\2.นับและบอกจำนวนดอกไม้อย่างน้อย 5 ได้สาระการเรียนรู้สาระที่ควรเรียนรู้
1.ส่วนประกอบของดอกไม้
2.การรู้ค่าและความหมายของจำนวน 5ประสบการณ์สำคัญด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหวเค
ลื่อนที่ด้านอารมณ์-การแสดงออกอย่างสนุกสนานด้านสังคม-การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นด้านสติปัญญา-การรับรู้ผ่านสื่อเช่น ของจริง (ดอกกุหลาบ ) กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ(ควรเป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ที่สร้างความคุ้นเคย เช่น เพลง) ครูสอนให้เด็กพูดตามเพลง แล้วร้องเพลงตาม หลังจากนั้นให้ร้องเพลงพร้อมกัน
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงประเภทและส่วนประกอบของดอกไม้ดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้เด็กเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับดอกไม้ให้เพื่อนฟัง โดยครูใช้คำถามดังนี้- ในเพลงมีดอกไม้อะไรบ้าง-แล้วที่บ้านใครปลูกดอกไม้บ้าง
2. ครูและเด็กร่วมกันแยกส่วนประกอบของดอกไม้
3.ครูนำดอกไม้บางชนิดมาให้เด็กสังเกต เช่น แล้วเด็ดทีละส่วนประกอบของดอกไม้ว่าทำหน้าที่อะไรโดยให้เด็กลองทายและช่วยกันตอบคำถาม เด็กทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นแล้วดอกไม้ทุกประเภทส่วนประกอบต่างๆทำหน้าที่เหมือนกันทุกชนิด
ขั้นสรุป
ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปชื่อและนับจำนวนดอกไม้อีกครั้ง
แหล่งการเรียนรู้/สื่อ
1.ของจริง (ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน ดอกมะลิ ดอกดาวเรืองดอกกล้วยไม้)
2. ตะกร้า
3.เพลงดอกไม้สดสี ผีเสื้อสุดสวย
แสงแดดส่องด้วย ช่วยให้ฉันเพลินเพลิด
การประเมินผลการเรียนรู้
1.สังเกตความสนใจการมีส่วนร่วมในการเรียน
2.ฟังการแสดงความคิดเห็นการตอบคำถาม

บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 14 มกราคม 2553
วันนี้ได้เปลี่ยนห้องเรียนมาเป็นห้องเรียน มาเป็นห้อง233 ค่ะมันทำให้พวกเราตั้งใจฟังอาจารย์สอนมากกว่าเดิม คงเป็นเพราะว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ให้พวกเราแอบเล่นทุกคนจึงมีสมาธิต่อการเรียนและการตอบคำถาม อาจารย์ให้เพื่อนแบ่งกลุ่มละ 5 คนเขียนแผนคนละวัน โดยเลือกหน่วยที่ดีที่สุด แล้วมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน เปรียบเสมือนครูคนเดียว พร้อมทั้งสรุปเป็น Mind Mepper รวบรวมส่งE- mailเป็นกลุ่มค่ะ


สวัสดีค่ะวันนี้ก็เป็นอีกวันแล้วนะค่ะ ที่มีการนำเสนอการสอนของกลุ่ม A หน่วย แมลง เพื่อนๆกลุ่มA เทคนิคการสอนที่หลากหลายและแทรกคณิตศาสตร์มากขึ้นด้วย ก่อนที่เพื่อนจะนำเสนออาจารย์ก็ให้พวกเรานักศึกษาลงชื่อ Practicum 2 และอาจารย์แจ้งให้นักศึกษาของ2โรงเรียนที่ต้องย้ายที่ฝึกใหม่ เนื่องจากปัญหาโครงการสหกิจที่กำหนดให้ ตลอดการนำเสนอทั้ง 2 กลุ่มที่ผ่านมา พวกเราได้คำแนะนำมากมายค่ะ และจะนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะนำไปใช้ในการสอนต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ



วันนี้เป็นวันที่พวกเรามีการเรียนการสอนชดเชยค่ะ อาจารย์ให้พวกเรานำเสนอการสอน พร้อมกับแผนการสอน โดยอาจารย์ให้กลุ่ม A หรือB กลุ่มใดก็ได้ออกก่อน แต่อยากให้พวกเราเริ่มตั้งแต่อนุบาล 1 แต่ไม่มีเพื่อนกลุ่มไหนออกก่อน พวกเรากลุ่ม B หน่วย ดอกไม้ อนุบาล 2 เลยออกก่อน พวกเราในกลุ่มตื่นเต้นมากๆค่ะ ต่างคนต่างเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่เตรียมมาให้พร้อม พอถึงคิวของดิฉันที่ต้องสอนหน่วย ประโยชน์ของดอกกุหลาบ เป็นการสอนในวันที่ 3 ค่ะ พอสอนไปได้หน่อยหนึ่งอาจารย์ก็คอมเม้นต์ ว่า เรื่องประโยชน์ของกุหลาบน้อยไป และให้ข้อแนะนำถึงเทคนิคการสอนว่าควรปรับให้เป็นนิทานหรือภาพตัดต่อดีกว่า เพราะสิ่งที่เตรียมมา คือ การทำการ์ดวันวาเลนไทน์จากประโยชน์กลีบกุหลาบ ซึ่งมันควรเป็นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ไม่ใช่กิจกรรมกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ และอาจารย์ก็ให้ไปแก้ไขแผนการสอนให้สมบรูณ์ พอเพื่อนๆนำเสนอครบ5 วันแล้ว อาจารย์ก็ให้พวกเราไปปรับเปลี่ยนการสอนที่ให้ต่อเนื่องกัน เปรียบเหมือนการเขียนแผนคนเดียวที่เข้าใจและสอดคล้องกัน หลังจากนั้นก็เป็นกลุ่มอนุบาล 1และ 3 อาจารย์ก็ให้คำแนะนำเทคนิคแตกต่างๆออกกันไปค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากมาย เวลาก็ล่วงเลยมาจนถึง 5 โมงเย็นแล้ว เพื่อนๆเริ่มง่วงนอน อยากกลับบ้านกันแล้ว ก็เพราะพวกเราเรียนตั้งแต่เที่ยงจนเย็นนี้แหละ โชคดีมากที่มีประตูเปิดจากคุณป้าแม่บ้าน ให้อาจารย์รีบปล่อยนักศึกษา เพราะวันพุธจะมีการปิดตึกเร็ว อาจารย์ก็เลยให้พวกเรามานำเสนอต่อในวันพรุ่งนี้ตามเวลาเรียนปกติ แล้วอาจารย์ก็ให้พวกเราที่นำเสนอไปแล้วกลับไปแก้ไขแล้วมาให้อาจารย์ตรวจอีกครั้ง
บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553
วันนี้อาจารย์กำหนดเขียนส่งแผนการสอน แต่พวกเรายังทำไม่ถูกต้องและรายละเอียดพอ อาจารย์จึงเปิดดูงานของแต่ละคนแล้วแนะนำวิธีการสอนและเทคของแต่ละคน มาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง แล้ววันพุธหน้ามีการเรียนชดเชย โดยให้พวกเราเตรียมการสอนพร้อมสื่ออุปกรณ์ให้เรียบร้อย
บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2553
สวัสดีค่ะ เรียน อาจารย์ก็เริ่มตรวจงานก่อน ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งในห้องก็แบ่งเป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B สำหรับกลุ่มเราก็ได้กลุ่ม B ทำเรื่อง ดอกไม้ค่ะ อาจารย์ก็อธิบายหัวข้อและเนื้อหาที่แต่ละอนุบาลต้องสอน อาจารย์เริ่มอธิบายของกลุ่มดอกไม้ก่อน ว่าต้องสอนอย่างไร เช่น
หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 มีทั้งเรื่องชื่อของดอกไม้, ลักษณะของดอกไม้, ประโยชน์ โทษ ของดอกไม้เป็นต้น
อนุบาล 2 ก็จะลงลึกขึ้น คือจะเจาะเป็นเฉพาะดอกไม้ไปเลย เช่น เรื่องดอกกุหลาบจะสอนเกี่ยวกับ พันธ์, ลักษณะ, สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง, อาชีพ เป็นต้น
อนุบาล 3 เน้นเรื่องการปฏิบัติจริงมากขึ้น เช่น เป็นการสอนลักษณะของโครงการคือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น ให้เด็กเดินดูบริเวณรอบๆโรงเรียน อาจมีให้เด็กได้ปลูกดอกไม้ ได้รู้ถึงขั้นตอนการปลูกเป็นต้น
บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553


บรรยากาศในวันนี้ ก่อนอื่นขอบอกว่าได้เรียนในห้องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม ก็ดีใจหน่อย แต่ก็มีเพื่อนๆบางคนแอบเล่นเกมส์จนอาจาร์ยไม่พอใจ ก็น่าสงสารอาจารย์เหมือนกัน เพื่อนๆก็ร่วมตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้างเหมือนเดิม ห้องเรียนก็ไม่ค่อยหนาวเท่าไหร่ ก็เรียนได้ คอมพิวเตอร์ก็มีปัญหานิดหน่อยคะ ทุกอย่างในวันนี้ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

สำหรับวันนี้อาจารย์ตรวจงานที่นักศึกษาส่ง แต่ว่างานของแต่ละคนเปิดไม่ได้ อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในบางส่วนที่ต้องส่งงาน โดยให้นำงานจากเดิมมาแบ่งเป็น 3 ช่วง ตามระดับอายุ แล้วคุยกันว่าจะอยู่ระดับไหน แล้วจึงนำมาเขียนแผนทั้งหมด 5 วัน

ในเรื่องของการเรียนการสอนโดยทั่วไปอาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสียส่วนใหญ่ เพราะว่านักศึกษาแต่ละกลุ่มต้องเขียนแผนฯ สำหรับเราเองก็รีบทำงานให้เสร็จเเรยบร้อยโดยเร็วค่ะ

สำหรับงานอีกอย่างหนึ่งที่อาจารย์มอบหมายให้คือ การร้อยลูกปัดเข้ากับลวดกำมะหยี่ แล้วอาจารย์ก็อธิบายว่าการร้อยลูกปัดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร จนทุกคนเข้าใจค่ะ
บันทึกการเข้าเรียน วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันนี้เป็นวันที่สองที่ได้เข้าเรียนวิชานี้ อาจารย์ก็ให้พวกเราทำบล็อกให้สมบรูณ์ขึ้นคะ ใครขาดตรงไหนก็ให้แก้ไข เติมเต็มให้ครบถ้วนและการเขียนบันทึกการเข้าชั้นเรียนนั้นต้องระบุวันที่และบอกเล่าว่าวันนั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร บรรยากาศการเรียนบันทึกความรู้ ความเข้าใจ และผลงานที่ได้จากการเรียนวันนั้น สอดแทรกความคิดเห็น ความรู้สึก แง่คิด และข้อเสนอแนะต่างที่มีต่อเรื่องนั้น ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ฯ จากนั้นอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4-5 คน โดยกลุ่มของฉัน ได้เรื่อง "ความหมายและความสำคัญของคณิตศาสตร์" หายากมากคะเพราะส่วนใหญ่จะให้ความหมายและความสำคัญของระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาคะ ดีนะที่เจองานวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับที่หาโดยอาจารย์ปล่อยให้นักศึกษาทำงานในห้อง เมื่อเสร็จแล้วอาจารย์ให้ส่ง E-mail ให้อาจารย์ ในระหว่างนั้นอาจารย์ก็เคลียร์เรื่องเงินค่าเสื้อของเอก กับนักศึกษา บรรยากาศค่อนข้างวุ่นวายนิดหน่อยเพราะเรื่องเงินยังไม่ลงตัว แต่ก็ผ่านพ้นไปได้โดยดีค่ะ...


เกร็ดข้อมูล Practicum 1 ด้านสื่อการสอนคณิตศาสตร์ Practicum 1 นี้
ดิฉันได้สังเกตที่โรงเรียนบางบัวเพ่งตั้งตรงจิตร์คะที่นี้มีระดับชั้นอนุบาล 1-2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบรูณาการ ในแต่ละห้องก็มีการจัดมุมสำหรับเด็กๆอยู่มากมายค่ะ สื่อการสอนก็หลากหลายอย่างเช่นสื่อคณิตศาสตร์ก็มีมากพอสมควร บางห้องก้จะแตกต่างออกกันไปบางแล้วแต่ช่วงอายุที่เหมาะสมกับสื่อนั้นๆและจะทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ทุกวันค่ะ ซึ่งระยะเวลาการสังเกต10วันที่ผ่านมาทำให้ได้ประสบการณ์นอกห้องเรียนมากมายและได้เก็บเกี่ยวความรู้จากครู อาจารย์ และพี่ฝึกสอนที่นั้นด้วยค่ะ มันทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้กับในอนาคตการเป็นครูค่ะ
ตารางกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนบางบัวเพ่งตั้งตรงจิตร์


ตารางกิจกรรมประจำวัน
กำหนดไว้โดยประมาณดังนี้
07.00 น.รับนักเรียนเป็นรายบุคคล
08.00 น.เข้าแถวเคารพธงชาติ/ กิจกรรมธรรมคีตา / กายบริหาร
08.30 นั่งสมาธิ / ให้การอบรม
08.40 น.กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม / กิจกรรมเสริม (ตารางของแต่ละห้อง)
09.10 น.รับประทานอาหารว่าง
09.20 น.จัดกิจกรรม 6 กิจกรรม / กิจกรรมเสริม (ตารางของแต่ละห้อง)
11.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน / แปรงฟัน / ทำภาระกิจส่วนตัว
12.00 น.นอนหลับพักผ่อน
14.00 น.ตื่นนอน / เก็บที่นอน / ทำภาระกิจส่วนตัว
14.30 น.ดื่มนม / ทบทวนบทเรียน
15.00 น.เตรียมตัวกลับบ้านหมายเหตุ ตารางกิจกรรมประจำวัน สามารถปรับให้เหมาะสมกับเวลา เหตุการณ์ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี สภาพชุมชน และท้องถิ่น ทั้งนี้ต้องมีครบทุกกิจกรรม
ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย


สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันอีกครั้งในครั้งนี้จะขอนำเสนอบอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้เรียนกันในวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาและอาจารย์ได้ทบทวนให้ในวันที่ 21 มากราคม 2553 ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ค่ะ


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น


2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม


3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน


4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้


5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า


6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น


7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ


8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน


9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น


10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?


11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์


12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
สรุป >>> Mathematic Experriences for Early Childhood
ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- “คณิต” หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ
- “คณิตศาสตร์” หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำรา
- คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา เด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ
เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่าย
ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้